Tuesday, August 18, 2020

ตามรอยพระบิดาวิทยาศาสตร์ไทยแวะเที่ยว 3 สถานที่สำคัญทางดาราศาสตร์ เส้นทางกรุงเทพฯ-ประจวบฯ - ไทยรัฐ

terasibon.blogspot.com
ตามรอยพระบิดาวิทยาศาสตร์ไทยแวะเที่ยว 3 สถานที่สำคัญทางดาราศาสตร์ เส้นทางกรุงเทพ - ประจวบฯ

18 สิงหาคม ของทุกปี เป็นวันรำลึกถึงพระปรีชาชาญของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ด้านดาราศาสตร์ ในการคำนวณปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงครั้งแรกของประวัติศาสตร์ไทย ในตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อปี พ.ศ.2411 ซึ่งก่อนที่จะคำนวณระยะเวลาได้แม่นยำ พระองค์ทรงศึกษาดาราศาสตร์ และได้คำนวณทิศทางของแสงอาทิตย์และการโคจรของดาวต่างๆ ด้วยการสังเกตการณ์หลายตำแหน่งของประเทศไทย 

วันนี้ไทยรัฐออนไลน์พามาดูสถานที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับงานด้านดาราศาสตร์ของพระองค์ท่าน เพื่อให้ผู้สนใจได้ตามรอยพระราชกรณียกิจนี้ แต่ละสถานที่เปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยว และเป็นจุดชมเมืองที่สวยงาม มาดูกันว่ามีที่ไหนบ้าง

3 สถานที่สำคัญทางดาราศาสตร์ในสมัยรัชกาลที่ 4

หว้ากอเป็นสถานที่สุดท้ายที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงงานด้านดาราศาสตร์ ด้วยการเชิญพระราชอาคันตุกะจากต่างประเทศ และโหราจารย์ไทยมาชมปรากฏการณ์สุริยุปราคาตามการคำนวณของพระองค์ แต่ช่วงระยะเวลาก่อนหน้านั้น เสด็จพระราชดำเนินมาเมืองเพชรบุรี และโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นแม่งานก่อสร้างวังและค่ายหลวงหลายแห่ง

1. เขาวัง พระนครคีรี จ.เพชรบุรี

ภาพจาก www.phranakhonkhiri.com
ภาพจาก www.phranakhonkhiri.com

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังสำหรับเสด็จแปรพระราชฐานบนยอดเขาแห่งนี้ สร้างเสร็จในปี พ.ศ.2403

เมื่อครั้งก่อสร้างเขาวังพระนครคีรี ทรงมีพระราชดำริให้ปักเสาธง เพื่อใช้เป็นสายล่อฟ้า ป้องกันฟ้าผ่าแก่สิ่งก่อสร้างบนที่สูง ในครั้งนั้นเสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรดาวพุธ ในปี พ.ศ.2404 

และใน พ.ศ.2407 เสด็จพระราชดำเนินไปพื้นที่บ้านเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี เพื่อวัดองศาที่เกิดจากแดดของพระอาทิตย์ เพื่อศึกษาเรื่องเส้นแวงและเส้นรุ้ง โดยในทางดาราศาสตร์ปัจจุบันเรียกว่า เส้นละติจูด และลองจิจูด

หอดูดาวที่สำคัญมีชื่อว่า หอชัชวาลเวียงชัย หรือเรียกว่า หอตะเกียง มีลักษณะเป็นทรงกลมสูงคล้ายกระโจมไฟ มีบันไดเวียน ชั้นบนระเบียงประดับด้วยลูกกรงแก้ว เคลือบกระเบื้องสีเขียว เป็นจุดชมวิวเมืองเพชรบุรีที่มองเห็นได้ทั้งเมือง ปัจจุบันเปิดดำเนินการเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ มีบริการรถรางไฟฟ้าขึ้นไปบนยอดเขา เก็บค่าโดยสารผู้ใหญ่ 30 บาท เด็ก 10 บาท

2. อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า หว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์

อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า หว้ากอ ประกอบด้วยอาคารแฝด 3 หลัง ชื่อ อาคารพันทิวาทิตย์ อาคารพันพินิตจันทรา และอาคารดาราทัศนีย์ ด้านหน้าเป็นอาคารที่มีโครงสร้างเดียวกับหอดูดาวชัชวาลเวียงชัย ที่เพชรบุรี จัดแสดงนิทรรศนการเกี่ยวกับพระราชประวัติและพระอัจฉริยภาพแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

นอกจากนี้ยังจัดกิจกรรมส่งเสริมด้านวิทยาศาสตร์ เป็นแหล่งทัศนศึกษาของโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ อาทิ กิจกรรมดูนก ดูดาว รวมเป็น 23 ฐาน สำหรับการศึกษาเป็นกลุ่มย่อย จุดเยี่ยมชมที่น่าสนใน ได้แก่ อควาเรียม, สวนผีเสื้อ, ท้องฟ้าจำลอง มีค่าเข้าผู้ใหญ่ 30 บาท เด็ก 20 บาท


3. หอนาฬิกาหลวงจำลอง กรุงเทพมหานคร

ภาพจากสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
ภาพจากสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างหอนาฬิกาไว้ในเขตพระนคร เพื่อให้ผู้ที่เดินเรือเข้ามาทางแม่น้ำเจ้าพระยา หรือชาวบ้านได้ดูเวลาเห็นแต่ไกล และใช้เป็นเวลามาตรฐานของกรุงเทพฯ เรียกว่า Bangkok Time นาฬิกาหลวงนี้ตั้งอยู่ในเขตพระที่นั่งภูวดลทัศไนย ภายหลังถูกรื้อทิ้งและสร้างขึ้นมาใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 5 เพราะของเก่าทรุดโทรม

ปัจจุบันหอนาฬิกาหลวงไม่ได้มีไว้ดูเวลาของชาวเมืองอีกต่อไป เนื่องจากประชาชนแต่ละคนก็มีนาฬิกาใช้ และหอนาฬิกาก็ถูกปิดไว้ให้ชมความงดงามได้จากภายนอก ตั้งอยู่ริมถนนสนามไชย ด้านหลังวัดโพธิ์ และเป็นจุดถ่ายภาพของนักท่องเที่ยวที่มาแวะเวียนชมความงามของหมู่ปราสาทพระราชวัง และวัดพระแก้ว

นอกจากนี้ยังมีภาพยนตร์เรื่อง ทวิภพ The Siam Renaissance ปี 2547 ที่ได้ถ่ายทอดเรื่องราวของอุปกรณ์ที่คาดว่าเคยถูกใช้ในพระราชกรณียกิจด้านดาราศาสตร์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่าเคยจัดเก็บอยู่ในหอนาฬิกาหลวง ซึ่งหากใครที่ชื่นชอบภาพยนตร์แนวประวัติศาสตร์ก็ควรหามาดูกัน.

อ่านเพิ่มเติม...

Let's block ads! (Why?)



"ตาม" - Google News
August 18, 2020 at 01:46PM
https://ift.tt/3iPcmHX

ตามรอยพระบิดาวิทยาศาสตร์ไทยแวะเที่ยว 3 สถานที่สำคัญทางดาราศาสตร์ เส้นทางกรุงเทพฯ-ประจวบฯ - ไทยรัฐ
"ตาม" - Google News
https://ift.tt/2U0RPX7
Share:

Related Posts:

0 Comments:

Post a Comment