Wednesday, August 26, 2020

กล้าลองกล้าลุย : ลุยตามหาที่มาของผลิตภัณฑ์จากเถาวัลย์แดง จ.ราชบุรี ตอน 2 - ช่อง 7

terasibon.blogspot.com
กล้าลองกล้าลุย วันนี้ คุณต้นกล้า ชัยอนันต์ ยังอยู่ที่จังหวัดราชบุรี กับการ "ลุยตามหาที่มาของผลิตภัณฑ์จากเถาวัลย์แดง" เมื่อวานนี้ได้เห็นขั้นตอนการตามหาถึงในป่า ทั้งยากและลำบากกันไปแล้ว ขั้นตอนการแปรรูปให้เป็นผลิตภัณฑ์สวย ๆ ทำยากยิ่งกว่าหลายเท่าตัว ที่หลายคนสงสัย ทำไมราคาของผลิตภัณฑ์จากเถาวัลย์แดงถึงมีราคาค่อนข้างสูง ไปหาคำตอบ และติดตามชมพร้อมกัน 

วันนี้เราตามกันต่อ ที่ผมกำลังแบกอยู่นี้ คือ เถาวัลย์แดง วัชพืชไร้ค่า ขึ้นรกตามป่าทั่วไป ซึ่งกว่าจะหาได้เยอะขนาดนี้ เราใช้เวลากันหลายชั่วโมงเลย

ที่หลายคนสงสัย ก็คือ เถาวัลย์แดง จะเอามาทำเป็นงานหัตถกรรมได้อย่างไร อย่างแรกที่ต้องทำก็คือ นำเถาวัลย์แดงทั้งหมด มาต้มในน้ำเดือดจัดก่อน เพื่อกำจัดยาง และให้ลอกเปลือกออกได้ง่าย ไม่ได้ต้มแค่ 5-10 นาที แต่เขาต้มกันนานเป็นชั่วโมง ๆ 

เถาวัลย์แดง เมื่อต้มได้ที่แล้ว สีจะเปลี่ยนไป ผิวเปลือกด้านนอกจะกลายเป็นสีดำสนิท จากนี้ก็ต้องนำมาดึง ลอกเปลือกออกให้หมด วันไหนได้เถาวัลย์แดงมาต้มหลายร้อยกิโลกรัม ก็จะนั่งทำงานช่วยกันแบบนี้ ยิงยาวตลอดทั้งวัน เถาวัลย์ที่ลอกเปลือกออกแล้ว น้ำหนักจะหายไปเกินครึ่ง จาก 100 กิโลกรัม พอลอกเปลือกออก และตากแดดจนแห้งสนิทแล้ว จะได้ไม่เกิน 20 กิโลกรัมเท่านั้น ต้นทางของราคาเถาวัลย์แบบแห้ง จึงอยู่ที่กิโลกรัมละ 60 บาท สูงขึ้นกว่าเดิมหลายเท่าตัว เพราะมันทำยากนั่นเอง

จากนั้นก็นำไปตากแดดให้แห้งสนิท ประมาณ 2-3 แดด ระหว่างนี้ ห้ามให้โดนฝนเด็ดขาด ไม่เช่นนั้นเถาวัลย์แดงจะขึ้นรา กลายเป็นสีดำ นำไปทำผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ต่อไม่ได้ ต้องทิ้งทั้งหมด

อีกวัน เรามาลุยกันต่อที่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด สุขขี แฮนดิคราฟท์ ที่นี่ถือเป็นศูนย์รวมสุดยอดฝีมือของเหล่านักสานเถาวัลย์แดง ที่ คุณศิริวรรณ สุขขี ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม ปี 56 บอกกับเราว่า ด้วยประสบการณ์ที่ผ่านการออกแบบ และทำผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญามานานหลายปี เห็นแบบนี้ แต่ละคนเขาไม่ธรรมดาเลย งานทุกชิ้นถือเป็นงานทำมือ หรืองานแฮนด์เมด ค่อย ๆ ขึ้นรูป ค่อย ๆ สานไปทีละเส้น ช่างฝีมือของที่นี่จึงมีแต่เหล่าผู้สูงอายุ ใช้เวลาว่างจากที่อยู่บ้านเฉย ๆ มารับจ้างจักสานเถาวัลย์แดง มีรายได้อยู่ที่หลายร้อยบาทต่อวัน

เป็นงานที่อาศัยความอดทนมาก เพราะงานบางชิ้นใช้เวลาทำ 3-4 วัน ถึงจะเสร็จ จึงไม่แปลกที่คนรุ่นใหม่ไม่มีใครอยากจะทำ เหลือเพียงผู้สูงอายุที่เคยผ่านงานจักสาน มีความชำนาญมาแล้ว มานั่งทำกันตรงนี้

เพราะทำยาก และเป็นงานฝีมือ ผลงานแต่ละชิ้นถือว่ามีคุณค่าอย่างมาก ทุกวันนี้ผลิตภัณฑ์สวย ๆ ส่งออกต่างประเทศไปกว่า 80 เปอร์เซ็นต์เลย

นี่แหละ ประโยชน์หลักของเถาวัลย์แดง ทำให้ชาวบ้านมีรายได้ตลอดทั้งปี

ปิดท้ายวันนี้ ด้วยผลิตภัณฑ์สวย ๆ ฝากไปอุดหนุนกันได้

Let's block ads! (Why?)



"ตาม" - Google News
August 27, 2020 at 09:51AM
https://ift.tt/3b3VISy

กล้าลองกล้าลุย : ลุยตามหาที่มาของผลิตภัณฑ์จากเถาวัลย์แดง จ.ราชบุรี ตอน 2 - ช่อง 7
"ตาม" - Google News
https://ift.tt/2U0RPX7
Share:

0 Comments:

Post a Comment