Wednesday, July 15, 2020

กล้าลองกล้าลุย : ลุยตามหาที่มาของก้อนเชื้อเห็ดคุณภาพ ตอน 2 - ช่อง 7

terasibon.blogspot.com
กล้าลองกล้าลุย วันนี้ คุณต้นกล้า ชัยอนันต์ ยังอยู่กับภารกิจ "ลุยตามหาที่มาของก้อนเชื้อเห็ดคุณภาพ" เมื่อวานนี้ได้เห็นเบื้องหลังการทำงานแปรรูปไม้ ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี จนได้ที่เลื่อยไม้ยางพารา ที่เป็นวัสดุเพาะคุณภาพดีของเห็ดไปแล้ว วันนี้พาไปอีกที่ คือ ที่จังหวัดพิษณุโลก ก้อนเชื้อเห็ดเขาทำกันยังไง ไปติดตามชมพร้อม ๆ กัน

วันนี้ กล้าลองกล้าลุย พร้อมกับทีมงาน เรายังคงปักหลักอยู่ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี โรงเลื่อยไม้ขนาดใหญ่ ของบริษัท สุธรรมพาราวู๊ด (2017) จำกัด ไม่บ่อยนักที่โรงเลื่อยไม้จะอนุญาตให้เราเข้ามาเกาะติด ดูแต่ละขั้นตอนอย่างละเอียด เนื่องจากติดเงื่อนไขหลายอย่าง เมื่อวานนี้ หลายท่านคงได้เห็นการทำงานที่ต้องใช้ทักษะสูงนี้ไปแล้ว ผลผลิตจากการแปรรูปท่อนไม้ยางพารา อย่างแรกที่ได้ก็คือ ไม้สำหรับนำไปทำเป็นเฟอร์นิเจอร์

นอกจากไม้สำหรับทำเฟอร์นิเจอร์ รายได้หลักของโรงเลื่อยแล้ว อีกอย่างที่เป็นที่ต้องการและนิยมอย่างมาก อย่างที่บอกไปก็คือ ขี้เลื่อย ที่มีลักษณะเป็นผงละเอียด ๆ แบบนี้ หลังจากพักเบรกงานเลื่อยแปรรูปไม้ระหว่างวัน คนงานจะลงไปในบ่อ เพื่อตักเอาขี้เลื่อยไปเก็บไว้ในถังพัก หรือที่เรียกกันว่า "ไซโล"

ด้านล่างนี้มีขี้เลื่อยอยู่ค่อนข้างเยอะ เป็นบ่อลึกเมตรกว่า ๆ อย่างแรกของการทำงาน ทุกคนให้ผมระวัง ใบเลื่อยคม ๆ มันจะอยู่บนศีรษะของเราพอดี ถ้าพลาดไปโดน ก็อาจได้เลือด

กว่าจะช่วยตักได้เต็มตะกร้าแบบนี้ ต้องทนกับฝุ่นที่เยอะใช้ได้เลย

ขี้เลื่อยเหล่านี้จะมีถังพักขนาดใหญ่ หรือเรียกกันว่า ไซโล ทำให้ขี้เลื่อยคงความสด และคุณภาพดี ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญ เป็นที่ต้องการของฟาร์มเห็ดจากทั่วประเทศ ราคาขายของขี้เลื่อย เริ่มต้นที่พันกว่าบาทต่อตัน ราคาจะสูงขึ้นอีกตามระยะทางของการขนส่ง ซึ่งกว่าจะไปถึงจุดหมาย ราคาจะพุ่งขึ้นไปจนเกือบถึง 3,000 บาทเลย

ขี้เลื่อยเป็นตัน ๆ เหล่านี้ จะถูกส่งต่อไปยังฟาร์มเห็ดทันที วันนี้เราจึงตามต่อ ไปดูการใช้ขี้เลื่อยผลิตก้อนเชื้อเห็ด เทคนิคสำคัญก็คือ ขี้เลื่อยต้องถูกนำไปพักไว้ ให้น้ำยางที่ติดค้างอยู่ออกให้หมดก่อน จากนั้นถึงนำมาผสมด้วยอาหารเห็ด ตามอัตราส่วนที่กำหนด ส่วนใหญ่ใช้ขี้เลื่อย 100 กิโลกรัม ต่ออาหารเห็ด 10 กิโลกรัม อย่างเช่นที่ตำบลท่าช้าง ในอำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก กลุ่มเพาะเห็ดบ้านท่าช้างของ พี่โอ๋ วิมล ถือเป็นแหล่งใหญ่ในการผลิตก้อนเชื้อเห็ดคุณภาพส่งขายไปทั่วประเทศ วันนี้ผมเองขออาสาเป็นผู้ช่วยอัดก้อนเชื้อเห็ด ทำให้รู้ว่าชาวบ้านที่นี่ เขามีรายได้จากการออกมารับจ้างอัดก้อนเชื้อเห็ด วันละ 300 กว่าบาทขึ้นไปเลย

ดังนั้นวัสดุเพาะหลักของการทำก้อนเชื้อเห็ด คงหนีไม่พ้นขี้เลื่อยจากไม้ยางพารา หรือแม้แต่อย่างที่ มาลินฟาร์มเห็ด ในอำเภอเมือง ที่นี่ก็ใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพารา เดือนละไม่ต่ำกว่า 15 ตัน ได้เลย ส่งออกก้อนเชื้อเห็ดวันละหลายพันก้อน

ทั้งหมดนี้คือที่มาของก้อนเชื้อเห็ดคุณภาพ กว่าจะนำมาบรรจุลงในถุง ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ และที่สำคัญยังสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร ที่รับซื้อก้อนเชื้อเห็ดนำไปเพาะ เพื่อเอาเห็ดไปขายต่ออีกทอด ปิดท้ายวันนี้ จึงขอเก็บเห็ด เอาไปทำเมนูอาหารต่อ

Let's block ads! (Why?)



"ตาม" - Google News
July 16, 2020 at 09:36AM
https://ift.tt/3gZaKKM

กล้าลองกล้าลุย : ลุยตามหาที่มาของก้อนเชื้อเห็ดคุณภาพ ตอน 2 - ช่อง 7
"ตาม" - Google News
https://ift.tt/2U0RPX7
Share:

0 Comments:

Post a Comment