รองโฆษกอัยการชี้แจงอย่างละเอียด ถึงขั้นตอนติดตามตัว “บอส อยู่วิทยา” ทายาทกระทิงแดง ที่ซิ่งเฟอร์รารี่ ชนตำรวจเสียชีวิตเมื่อปี 2555 หลัง ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดทางวินัย เจ้าหน้าที่ตำรวจ 7 คน ที่ไม่ดำเนินการตามขั้นตอนคดีให้ครบถ้วนเป็นเหตุให้ผู้ต้องหาหลบหนี
หลังจากที่ สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติชี้มูลความผิด ในคดีที่ พล.ต.ต.กฤษฏิ์ เปียแก้ว เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง ผบก.น.5, พ.ต.อ.สุคุณ พรหมายน รอง ผบก.น.5, พ.ต.อ.ไตรเมต อู่ไทย รอง ผบก.น.5, พ.ต.อ.ชุมพล พุ่มพวง ผกก.สน.ทองหล่อ, พ.ต.อ.สัมฤทธิ์ เกตุแย้ม, พ.ต.ท.วิบูลย์ ถิ่นวัฒนากูล และ พ.ต.ท.วิรดล ทับทิมดี ฐานกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ กรณีสอบสวนช่วยเหลือนายวรยุทธ อยู่วิทยา ทายาทธุรกิจ “กระทิงแดง” ไม่ให้ถูกดำเนินคดีขับรถขณะเมาสุรา ขับรถเร็วเกินกว่าอัตรากฎหมายกำหนด และไม่ดำเนินการออกหมายจับ เพื่อให้ได้ตัวมาส่งพนักงานอัยการฟ้องดำเนินคดีตามกฎหมาย เป็นเหตุให้ผู้ต้องหาหลบหนีนั้น
นายประยุทธ เพชรคุณ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวถึงขั้นตอนการติดตามตัว นายวรยุทธ หรือบอส อยู่วิทยา อายุ 35 ปี ผู้ต้องหาในคดีนี้ว่า สำนวนคดีของนายวรยุทธ อัยการสำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ ได้มีคำสั่งฟ้องในข้อหา “ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291” มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ซึ่งตามกฎหมายคดีมีอายุความในการติดตามตัวผู้ต้องหามายื่นฟ้องศาลภายใน 15 ปี นับตั้งแต่วันเกิดเหตุเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2555
ดังนั้นคดีจึงจะครบกำหนดขาดอายุความในวันที่ 3 กันยายน 2570 เท่ากับนับจากนี้จึงมีเวลา 7 ปีที่จะติดตามตัวผู้ต้องหามายื่นฟ้องต่อศาล
เมื่ออัยการได้มีคำสั่งฟ้องแล้ว แต่ตัวของนายวิทยาหรือบอส ได้หลบหนี ขณะที่คดีมีหมายจับที่ศาลได้ออกไว้แล้ว หากพบว่านายวรยุทธ อยู่ในประเทศไทย เจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ ถ้าเจอตัวที่ไหนก็สามารถจับกุมตัวมาส่งให้อัยการยื่นฟ้องต่อศาลได้ทันที แต่ปัจจุบันเท่าที่ทราบจากสื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า นายวรยุทธ ได้หลบหนีอยู่ต่างประเทศ ซึ่งก็ต้องขอให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดน และประเทศไทยเองก็มีหลักเกณฑ์นี้อยู่ใน พ.ร.บ.ส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ.2551
แต่ทั้งนี้ ก็ต้องดูกฎหมายอีกว่า ประเทศนั้นๆ กับไทยมีสนธิสัญญาว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างการหรือไม่ ถัามีก็จะปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ตกลงกันไว้ ตามสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างกัน โดยให้ตำรวจรวบรวมเกี่ยวกับเรื่องนั้นทั้งหมด รวบรวมส่งให้อัยการสูงสุดของประเทศไทย ในฐานะ “ผู้ประสานงานกลาง”ตามกฎหมาย
เมื่อรับข้อมูลมา อัยการสูงสุดก็จะจ่ายงานให้กับอธิบดีอัยการสำนักงานต่างประเทศ คือ นายชัชชม อรรฆภิญญ์ ที่มีทีมงานอัยการกองต่างประเทศ ติดต่อประสานงานกับประเทศปลายทางขอส่งผู้ร้ายข้ามแดน แล้วจึงเข้าสู่กระบวนการพิจารณา
กระทั่งสุดท้ายจะมีคำสั่งว่าส่ง หรือไม่ส่งผู้ร้ายข้ามแดน ซึ่งแต่ละประเทศก็จะมีกรรมวิธีของเขา ไม่ใช่ว่าเมื่อมีการร้องขอให้ส่งแล้ว จะได้มีการส่งตัวทันที ตัวอย่างประเทศไทย เมื่อมีประเทศใดร้องขอส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน ก็จะมีกระบวนการไต่สวนและให้ศาลมีคำสั่ง
แต่หากเป็นกรณีที่ประเทศปลายทางไม่มีสนธิสัญญาฯ ระหว่างกันกับไทย ก็จะไปสู่การปฏิบัติ “ตามหลักการวิถีทางการทูต” ซึ่งผู้ที่จะเดินเรื่องนี้ก็คือ กระทรวงการต่างประเทศของไทย ที่จะใช้หลักเกณฑ์ทางการทูต ประสานงานความร่วมมือระหว่างประเทศ
ประการสำคัญในวิธีนี้ คือ หากประเทศไทยจะดำเนินการส่งคำร้องขอไปจะต้องแสดงเจตนาให้ชัดเจนว่า ภายหน้าในอนาคต หากมีคนของประเทศนั้นหนีมาอยู่ในประเทศไทย ถ้าเขาขอมา ก็พร้อมที่จะให้ความร่วมมือเช่นกันในลักษณะถ้อยทีถ้อยอาศัยระหว่างกัน
นายประยุทธ กล่าวย้ำว่า หลักการดำเนินการที่จะส่งใครเป็นผู้ร้ายข้ามแดน ต้องดำเนินการภายในอายุความ หากขาดอายุความแล้วก็ดำเนินการไม่ได้ ขณะที่คดีของนายวรยุทธ ระหว่างนี้อยู่ในขั้นตอนของตำรวจที่สืบหาว่าพำนักอยู่ที่ใด ซึ่งต้องสืบหาให้ได้ก่อน จากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการปฏิบัติตามขั้นตอนขอส่งผู้ร้ายข้ามแดน
ในเรื่องสถานที่พำนักของนายวรยุทธ ผู้ต้องหานั้น เป็นเรื่องของสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะดำเนินการ ในส่วนของอัยการ จะดำเนินขั้นตอน หลังจากที่ตำรวจส่งข้อมูลและรายละเอียดมาให้ แล้วอัยการสูงสุดในฐานะผู้ประสานงานกลางตามกฎหมายจะดำเนินการส่งคำร้องขอไปยังประเทศนั้นๆ ซึ่งมีบุคลากรของอัยการสำนักงานต่างประเทศพร้อมอยู่แล้ว ที่จะดำเนินการ แต่ต้องมีกระบวนการที่จะได้ข้อมูลจากทางตำรวจเสียก่อน
ผิดวินัยไม่ร้ายแรง
สำหรับการชี้มูลความผิดนายตำรวจทั้ง 7 นายนั้น ป.ป.ช. มีมติว่ามีมูลความผิดแยกเป็นกรณี ประกอบด้วย
- กรณีมีเจตนาละเว้นไม่ดำเนินคดีกับนายวรยุทธ ในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และ กรณีไม่นำรายงานผลการคำนวณความเร็ว ของกองพิสูจน์หลักฐาน ที่พบว่านายวรยุทธขับรถยนต์ด้วยความเร็วเฉลี่ย 177 กม./ชม. มาประกอบการทำความเห็นในทางคดี
ป.ป.ช. มีมติว่า พ.ต.ท.วิรดล ทับทิมดี มีมูลความผิดทางวินัยไม่ร้ายแรง ฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความตั้งใจอุตสาหะ เพื่อให้เกิดผลดี หรือความก้าวหน้าแก่ราชการ ระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของทางราชการ และประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ
- กรณีละเว้นไม่ดำเนินการออกหมายจับนายวรยุทธ
ป.ป.ช. มีมติว่า พ.ต.อ.ชุมพล พุ่มพวง พ.ต.อ.สัมฤทธิ์ เกตุแย้ม พ.ต.ท.วิบูลย์ ถิ่นวัฒนากูล และ พ.ต.ท.วิรดล ทับทิมดี มีมูลความผิดทางวินัยไม่ร้ายแรง ตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ
- กรณีคณะพนักงานสืบสวนสอบสวน ร่วมลงนามสำนวนการสอบสวนคดีจราจรของ สน.ทองหล่อ
ป.ป.ช. มีมติว่า พล.ต.ต.กฤษฏิ์ เปียแก้ว พ.ต.อ.สุคุณ พรหมายน และ พ.ต.อ.ไตรเมต อู่ไทย ในฐานะผู้บังคับบัญชา ไม่กำกับดูแล ติดตาม เพื่อให้การสอบสวนเป็นไปโดยถูกต้องรอบคอบ เป็นความบกพร่อง ซึ่งมีมูลความผิดทางวินัยไม่ร้ายแรง
ทั้งนี้ ป.ป.ช. มีมติให้ส่งรายงานสำนวนการไต่สวนเอกสารหลักฐานและคำวินิจฉัยไปยังผู้บังคับบัญชา เพื่อดำเนินการทางวินัย
สำหรับคดีนี้เกิดขึ้นเมื่อเดือนกันยายน 2555 นายวรยุทธ หรือบอส ลูกชายคนเล็กของนายเฉลิม อยู่วิทยา มหาเศรษฐี ทายาทเจ้าของเครื่องดื่มชูกำลัง ขับรถสปอร์ตเฟอร์รารี่ ชน ด.ต.วิเชียร กลั่นประเสริฐ ผบ.หมู่ ป.สน.ทองหล่อ ขณะขี่จักรยานยนต์ตราโล่ เสียชีวิตห่างจากจุดเกิดเหตุ 200 เมตร ปากซอยสุขุมวิท 49
พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผบช.น. ขณะนั้น นำตำรวจ 200 นาย ล้อมบ้าน ต่อมาตำรวจท้องที่ได้นำตัวพ่อบ้านซึ่งมีหน้าที่ดูแลรถมามอบตัว
จากนั้น ในปี 2559 ตำรวจสรุปสำนวนให้อัยการสั่งฟ้องได้เพียง 2 ข้อหาคือ ข้อหาขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และข้อหาไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือผู้ถูกชน
ขณะที่ข้อหาขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนดเป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียชีวิต หมดอายุความตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน 2556 หลังเกิดเหตุ 1 ปี
ตำรวจยังไม่ฟ้องข้อหาขับรถโดยขณะมึนเมาด้วย แม้จะมีคำสั่งฟ้องคดีดังกล่าว แต่ทีมทนายขอเลื่อนนัดต่อเนื่องถึง 7 ครั้ง ส่งผลให้คดีขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดฯ ซึ่งเป็นความผิดลหุโทษ มีอายุความ 1 ปี หมดอายุความลง
Add Friend Follow"ตาม" - Google News
June 27, 2020 at 08:11PM
https://ift.tt/2BM21fG
รองอัยการแจงละเอียด ตามตัว 'บอส อยู่วิทยา' ทายาทกระทิงแดง หลังปปช.ชี้มูลความผิด - thebangkokinsight.com
"ตาม" - Google News
https://ift.tt/2U0RPX7
0 Comments:
Post a Comment